Switch to English

ต้องการอัพเดตเว็บไซต์ของคุณเพื่อถูกพบเห็น? 10 คำแนะนำจากเราที่ช่วยคุณได้

คุณใช้เงินและเวลามากมายในการลงทุนให้เว็บไซต์ของคุณสมบูรณ์ที่สุด เพื่อจะให้มันเป็นตัวตนออนไลน์ที่สำคัญและเป็นหน้าเป็นตาให้กับแบรนด์ของคุณ ผู้คนใช้การค้นหาทุกๆสิ่งที่อยากรู้ จาก Google ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณจะต้องดูแลรักษาระบบของเว็บไซต์, ทำการอัพเดตอย่างต่อเนื่อง และทำ SEO (Search Engine Optimization) หากคุณไม่ได้ทำการดูแลหรืออัพเดตอย่างสม่ำเสมอ เว็บไซต์ของคุณจะดูเก่าเหมือนกับว่าคุณไม่ใส่ใจมัน และจะมีผลกับการจัดอันดับของ Search Engine ทำให้เว็บไซต์ของคุณไม่สามารถถูกพบเห็นจากการค้นหา นอกจากนี้ยังทำให้เว็บไซต์ของคุณไม่รองรับและแสดงผลได้ไม่ดีในอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ หรือจากการไม่อัพเดตตามเว็บเบราเซอร์ทำให้เว็บของคุณใช้งานได้ยาก ไปจนถึงอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายและสุ่มเสี่ยงต่อการถูกปรับ ซึ่งท้ายที่สุดผลของสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกับภาพจดจำของแบรนด์คุณและตำแหน่งทางการตลาด

ลองถามตัวคุณเองด้วยคำถามเหล่านี้ดู:

  • คุณตรวจหา Error หรือข้อผิดพลาดบนเว็บไซต์ของคุณครั้งล่าสุดเมื่อไหร่?

  • คุณตรวจผลคะแนน SEO ของคุณเมื่อไหร่?

  • คุณอัพเดตคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของคุณล่าสุดเมื่อไหร่?

  • เว็บไซต์ของคุณได้ถูกปรับเปลี่ยนตามกฎความเป็นส่วนตัว และนโยบายการใช้ cookie ตามกฎหมายของประเทศไทยหรือยัง?

นี่คือคำถามที่คุณจะใช้ตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณเองตามนี้

 

1.เว็บไซต์ของคุณรองรับการใช้งานบนมือถือหรือไม่?

ข้อนี้ถือเป็นมาตรฐานของการทำเว็บไซต์ในปัจจุบันซึ่งก็คือการรองรับการใช้งานบนมือถือ การออกแบบเว็บไซต์แบบ Responsive Design หมายถึงการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ที่รองรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นขนาดของจอ ตัวระบบ หรือการแสดงผลแบบแนวตั้งและแนวนอน

ซึ่งหมายความว่าไม่ว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณจะใช้งานผ่านอุปกรณ์ใดๆก็ตาม เว็บไซต์ของคุณจะต้องแสดงผลออกมาให้เหมาะสมกับอุปกรณ์นั้นๆ การรองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือยังส่งผลกับปัจจัยอื่นๆที่เราจะอธิบายในบทความนี้อีกด้วย

ให้คุณลองเข้าเว็บไซต์ของคุณผ่านอุปกรณ์หลายๆชนิด(Android, iOS, หรือแท็บเล็ต) และเว็บเบราเซอร์หลายๆประเภทดูว่าเว็บไซต์ของคุณแสดงผลออกมาได้เหมาะสมหรือไม่? คุณอาจจะแปลกใจกับผลลัพธ์ก็ได้

 

2.เว็บไซต์ของคุณดูดี ทั้งกับลูกค้าของคุณหรือแม้แต่สตาฟของคุณหรือยัง?

ถ้าเว็บไซต์ของคุณดูไม่สวยงาม หรือดูเก่า ลูกค้าหรือแม้แต่พนักงานของคุณเองก็จะสร้างสันนิษฐานว่าแบรนด์ของคุณเองก็เป็นเช่นนั้น แต่หากว่าเว็บไซต์ของคุณดูดี ให้ความรู้สึกเป็นมืออาชีพ พวกเขาจะมองว่าแบรนด์ของคุณเด่นกว่าคู่แข่ง สามารถทำการสังเกตง่ายๆโดยการเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคู่แข่งและเปรียบเทียบกับของคุณ โดยเราจะให้ไกด์ไลน์เล็กๆน้อยๆให้คุณใช้ในการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ดูดีดังนี้

  • Elements ต่างๆบนเพจของคุณดูน่ามอง ทั้งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และบนโทรศัพท์มือถือ

  • ปุ่มกด และลิงค์บนเว็บไซต์ของคุณดูโดดเด่นเทียบกับ element ทั้งหมดของเพจ

  • ข้อความของคุณง่ายต่อการอ่าน

  • เมนูของคุณต้องใช้งานง่าย และพาผู้ใช้ไปยังสิ่งที่เขาค้นหาได้

  • ดูสะอาด และมีช่องหว่างระหว่างกันที่เหมาะสม

หากเว็บไซต์ของคุณดูดี จะทำให้ผู้ใช้งานอยากเข้าไปดูเนื้อหาที่คุณจัดเตรียมให้

 

3.คุณได้สร้างคอนเทนต์ลงบนเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำหรือเปล่า?

คอนเทนต์คือราชา ประโยคนี้ใช้ได้กับทุกๆแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่เว้นแม้แต่เว็บไซต์ของคุณ ถ้าคุณไม่ได้ทำคอนเทนต์บนเว็บไซต์เป็นประจำอยู่แล้ว คุณสามารถเริ่มต้นโดยการเขียนบล็อกบนเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำ โดยทำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ, สินค้า, บริการที่คุณนำเสนอ เราแนะนำให้คุณทำคอนเทนต์ที่ตอบคำถาม และแก้ปัญหาสิ่งที่ลูกค้าของคุณค้นหา คุณจะไม่ได้แค่มีคอนเทนต์ที่อัพเดตอยู่เรื่อยๆบนเว็บไซต์เท่านั้น การทำคอนเทนต์แบบนี้ช่วยในการจัดอันดับ SEO ของเว็บไซต์คุณ

นอกจากนี้ วิดีโอเป็นคอนเทนต์ออนไลน์ที่ดีมากๆ ซึ่งบ่อยครั้งที่นักสร้างคอนเทนต์ออนไลน์โพสต์วิดีโอพร้อมกับ Keyword สำคัญและลิงค์เชื่อมโยงไปยังคอนเทนต์วิดีโอนั้น นี่คือวิธีที่ช่วยจัดอันดับ SEO ของคุณได้ดีมากๆ

หากคุณต้องการจะทำวิดีโอ เราแนะนำให้ทำออกมาให้ดูมืออาชีพที่สุด เช่นเดียวกับเว็บไซต์, วิดีโอที่คุณภาพแย่ก็จะสร้าง impression ที่แย่กับแบรนด์ของคุณ ลงทุนสร้างวิดีโอกับมืออาชีพที่มีอุปกรณ์พร้อมจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด หรือคุณสามารถหาสตูดิโอสำหรับทำวิดีโอคอนเทนต์โดยเฉพาะ ซึ่งมันไม่ได้แพงอย่างที่คุณคิดและพร้อมใช้งานที่ตอบโจทย์คอนเทนต์ที่คุณจะทำอีกด้วย ติดต่อ ClipCube Media เพื่อดูรายละเอียดสตูดิโอและติดต่อใช้งาน

 

4.เว็บไซต์ของคุณใช้งานง่าย และนำทางผู้ใช้ไปยังเนื้อหาที่ต้องการได้ดีหรือไม่?

ลูกค้าที่ใช้งานเว็บไซต์ของคุณต้องพบข้อมุลที่พวกเขาต้องการให้เจอโดยต้องไม่มากกว่าการคลิกเพียง 2 คลิกเท่านั้น ทำการใช้งานให้เรียบง่ายที่สุด ให้ลูกค้าของคุณรู้ว่าคุณคือใคร เสนอสินค้าอะไร และจะติดต่อคุณได้ยังไงให้ง่ายที่สุด หากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาเยอะและปริมาณเพจที่เยอะ เราแนะนำให้ติดตั้งฟังก์ชันค้นหา รีดีไซน์เมนูของคุณใหม่หากมันเข้าใจยากและมีหลายขั้นตอนเกินไป พยายามสร้างความรู้สึกเหมือนการเดินทางของผู้ใช้บนเว็บไซต์ของคุณที่ปูทางไปสู่จุดที่ต้อง take action

 

5.เว็บไซต์ของคุณโหลดนานไหม?

คุณสามารถทดสอบได้ด้วยตัวเอง หากใช้เวลาโหลดเพื่อสแดงเว็บไซต์ของคุณนานเกิน 3 วินาที, คุณควรต้องเช็คความเร็วเว็บไซต์ของคุณโดยด่วน ปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณช้านั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่ไม่ได้ปรับความเข้ากัน, ปลัคอินที่มากเกินไป หรือไม่เข้ากัน, บริษัทที่ให้บริการโฮสต์เว็บไซต์ของคุณ, แคชบนเว็บไซต์ของคุณ, ไปจนถึงการเขียนโค้ดที่ไม่ดี คุณสามารถตรวจสอบความเร็วบนเว็บไซต์ของคุณได้จาก Google Page Speed Insights เพียงแค่พิมพ์ URL เว็บไซต์ลงไป มันจะทำการประมวลผล วิเคราะห์และตรวจสอบ และบอกผลลัพธ์ความเร็วของเว็บไซต์ของคุณทั้งการใช้งานบนมือถือ และคอมพิวเตอร์ รวมถึงบอกว่าอะไรอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เว็บของคุณช้าอีกด้วย แต่โดยธรรมชาติของการอัพเดตเว็บไซต์แล้วนั้นขั้นตอนการอัพเดตจะจัดการปัญหาเหล่านี้ไปในตัวให้คุณอยู่แล้ว หากคุณต้องการจะเริ่มทำด้วยตัวเองก่อนคุณสามารถเริ่มจากการปรับขนาดรูปภาพให้เล็กลงเพื่อลดขนาดไฟล์ หรือถอนการติดตั้งปลัคอินที่คุณไม่ได้ใช้ออกไป

 

6.เว็บไซต์ของคุณปลอดภัยหรือไม่?

เว็บไซต์ของคุณมี SSL (Secure Socket Layer) certificate แล้วหรือยัง? หากไม่มี เว็บไซต์ของคุณนั้นไม่ปลอดภัย และถึงเวลาอัพเดตแล้ว

SSL Certificate คือไฟล์ข้อมูลเล็กๆที่ฝังชื่อโดเมนของคุณและข้อมูลตัวตนขององค์กรคุณไว้ด้วยกัน หลังจากติดตั้งแล้ว คุณจะเห็นว่าเว็บไซต์ของคุณมีรูปสัญลักษณ์แม่กุญแจอยู่ข้างหน้า และบน URL ของคุณจะขึ้นต้นด้วย HTTPS (S มาจาก Secure) แทนที่จะเป็น HTTP แบบปกติ ซึ่งทำสร้างความปลอดภัยในการเชื่อมต่อระหว่างเซิฟเวอร์ของเว็บคุณกับเว็บเบราเซอร์ของผู้ใช้งาน มันทำให้ข้อมูลที่เป็นความลับอย่างเช่น ข้อมูลบัตรเครดิต, ข้อมูลล็อกอิน username หรือ passwords และอื่นๆ

Website Secured padlock Icon

สัญลักษณ์รูปแม่กุญแจ บริเวณ URL เว็บไซต์ของคุณ

 


Your site is not secured

ถ้าหากไม่ได้ติดตั้ง SSL certificate, แทนที่จะเป็นสัญลักษณ์แม่กุญแจ จะขึ้นแสดงว่า"Not Secure" หรือ ไม่ปลอดภัย

เหตุผลที่เว็บไซต์ของคุณควรจะมีระบบความปลอดภัย อย่างแรกคือ หากเว็บไซต์ของคุณไม่ปลอดภัย Google จะรู้และทำเครื่องหมายว่าเว็บไซต์ของคุณไม่ปลอดภัยและนั่นทำให้อันดับการค้นหาของคุณน้อยลง อย่างที่สอง มันไม่ได้แค่ส่งผลให้คุณมี conversion rate ที่น้อยลง แต่คุณยังสูญเสียความเชื่อใจจากฐานลูกค้าดั้งเดิมที่คุณมีอยู่อีกด้วย ทำให้กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ไม่กล้าจะจ่ายเงินผ่านเว็บไซต์ของคุณ และกลัวแฮ็คเกอร์ล้วงข้อมูลที่สำคัญของพวกเขาไป คุณสามารถซื้อ SSL certificate ได้เฉพาะหน่วยงาน/ผู้ให้บริการที่เป็นตัวแทนเท่านั้น และ SSL certificate มีหลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบจะเหมาะกับเว็บไซต์แต่ละประเภท เช่น เว็บไซต์ทั่วไป, E-commerce เว็บไซต์, และเว็บไซต์องค์กร เป็นต้น

 

7.เว็บไซต์ของคุณทำ SEO หรือยัง?

หากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณถูกค้นพบบน Search Engine นั่นทำให้คุณต้องเข้าใจความสำคัญของ SEO และปัจจัยที่เรากล่าวมาทั้งหมดในบทความนี้ มีผลโดยตรงกับ SEO

SEO มีสองรูปแบบ Onsite SEO คือการทำให้เว็บไซต์ของคุณให้สามารถพบเห็นได้ด้วย Search Engine และ Offsite SEO คือการวางลิงค์ที่จะนำไปที่เพจของคุณ บนเว็บไซต์ที่มี Domain Authority ที่สูงกว่า หรือเรียกง่ายๆว่าเว็บไซต์ที่มีอันดับสูงกว่าเรา การที่มีอันดับที่สูงกว่า ทำให้ search engine มองว่าเว็บของคุณมีความสำคัญพอที่จะไปปรากฎบนเว็บไซต์นั้นได้ ด้วยทั้งสองรูปแบบนี้จะต้องมีการปรับแต่งและขั้นตอนอีกมากมายเกี่ยวข้องเพื่อจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ฉะนั้นโปรดระวังผู้ที่แอบอ้างการให้บริการ SEO ที่เก็บเงินคุณไปและไม่ให้อะไรกลับมาเลย

 

8.คุณมี Call to action, แบบฟอร์มที่สร้าง Lead ให้คุณบนเว็บไซต์หรือยัง?

สำคัญที่สุดก็คือเว็บไซต์ของคุณต้องสร้างรายได้ การพัฒนาแบบฟอร์มเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณเก็บข้อมุลกลุ่มลูกค้า และช่วยให้คุณได้รับข้อมูลติดต่อกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น หรือการสร้างบริการสมัครจดหมายของแบรนด์คุณเพื่อบอกข่าวสาร, มอบส่วนลด ก็เป็นอีกวิธีการสร้าง lead ที่ดี หากเว็บไซต์ของคุณยังไม่มีวิธีที่ทำให้ลูกค้า take action ได้ชัดเจนและสะดวก รวดเร็ว เว็บไซต์ของคุณต้องได้รับการปรับปรุงและออกแบบใหม่

 

9.เว็บไซต์ของคุณได้ปรับเปลี่ยนตามนโยบายความเป็นส่วนตัวและการใช้คุกกี้

ปัจจัยตัวนี้เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครอง ซึ่งชัดเจนว่าถ้าไม่ได้ตั้งค่าเว็บไซต์ให้เป็นไปตามนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ คุณมีสิทธ์ที่จะถูกปรับหรือฟ้องร้อง ในประเทศทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้ข้อบังคับเหล่านี้แล้ว และประเทศไทยกำลังจะเริ่มใช้เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ถูกเลื่อนออกไปเพื่อรอราชกิจจานุเบกษา นอกจานี้ Facebook และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆยังขอให้คุณใส่ลิงค์ไปยังนโยบายความเป็นส่วนตัวขององค์กรคุณอีกด้วย

 

10.คุณตรวจหาข้อผิดพลาด (Error) บนเว็บไซต์ของคุณครั้งล่าสุดเมื่อไหร่?

ก่อนที่คุณจะเริ่มปรับเปลี่ยน หรือออกแบบเว็บไซต์ของคุณใหม่ คุณควรจะ backup หรือสำรองข้อมูลเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ หลังจากนั้นตรวจสอบความเข้ากันของเว็บคุณกับอัพเดตของแพล็ตฟอร์ม, ตรวจสอบโมดูลที่อัพเดตแล้วเข้ากันกับเว็บไซต์, ตรวจสอบข้อผิดพลาด (เช่น Error 404), ลิงค์ไฟล์แนบหรือลิงค์ที่เสียไปแล้ว, และอื่นๆ

 

และนี่คือ Checklist 10 ปัจจัยที่คุณสามารถตรวจสอบเมื่อไหร่ก็ได้เพื่อประเมิณเว็บไซต์ของคุณว่าถึงเวลาอัพเดตแล้วหรือยังนั่นเอง และเราเน้นย้ำไม่พอจริงๆว่า เว็บไซต์ที่ปรับมาดี และอัพเดตครบถ้วนแล้วจะทำเงินให้ธุรกิจของคุณจริงๆ

ที่ ClipCube Media เรามีบริการออกแบบเว็บไซต์, สนับสนุนช่วยเหลือ, และโฮสต์เว็บไซต์ให้คุณ ติดต่อหาเราตอนนี้ และมาดูกันว่าเราจะปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณยังไงได้บ้าง