Switch to English

คิดคอนเทนต์วิดีโอไม่ออก ไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหนดี? ลองเริ่มจากการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของวิดีโอและเลือกประเภทของวิดีโอให้ถูกต้อง. เพราะก้าวแรกที่ดีในการวางแผนทำคอนเทนต์วิดีโอ คือตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับประเภทของวิดีโอ.

ทุกวันนี้การทำคอนเทนต์ลงบนโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ เป็นประจำคงไม่มีเพียงพอ คอนเทนต์ต้องให้บางสิ่งที่มีค่า, แก้ปัญหาหรือตอบคำถามบางอย่าง, และที่สำคัญที่สุดคือดึงดูดคนดูให้อยู่. วิดีโอนับเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่ดึงดูดคนดูได้ดีที่สุด เพราะวิดีโอผสมผสานภาพและเสียงเข้าด้วยกัน ซึ่งนั่นทำให้วิดีโอเป็นสื่อกลางที่ยอดเยี่ยมในการบอกเล่าเรื่องราวของคุณ.

หากนักการตลาด หรือผู้ผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ที่ต้องการเริ่มต้นทำคอนเทนต์วิดีโอที่ดึงดูดคนดู, ทำให้คุณรู้สึกภูมิใจ, และโดดเด่นกว่าใครในตลาดคอนเทนต์วิดีโอซึ่งเป็นที่ที่กว้างใหญ่เหลือเกิน บทความนี้จะช่วยคุณกับก้าวแรกในการวางแผนทำวิดีโอคอนเทนต์ของคุณ.

 

ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของวิดีโอให้ถูกต้อง

เป้าหมายคือผลลัพธ์ที่คุณต้องการจะทำให้สำเร็จ ในขณะที่วัตถุประสงค์คือการกระทำหรือวิธีการที่ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งจะเฉพาะเจาะจงกว่า และในบางครั้งก็สามารถวัดค่าได้. 

วิดีโอจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อมันได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ นั่นคือเหตุผลสำคัญว่าทำไมการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก่อนจะเริ่มทำขั้นตอนอื่นๆ. ซึ่งส่วนมากจะแบ่งเป็น 4 ประเภท ที่ใช้กันทั่วไปได้แก่:

เพื่อเพิ่มการรับรู้ต่อแบรนด์ (Brand Awareness) – วัตถุประสงค์นี้ก็คือการทำให้คนดูรู้จักแบรนด์ของคุณ, จำคุณได้ผ่านวิดีโอ. ส่วนมากวิดีโอประเภทนี้จะเป็นวิดีโอที่มีความยาวไม่มาก สั้นและกระชับใจความพอที่จะดึงความสนใจของคนดู โดยจะเป็นวิดีโอที่ดูสนุก ให้ความบันเทิงหรือความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ในรูปแบบหนึ่ง โดยตั้งเป้าที่ดึงดูดความสนใจคนดูทุกประเภทในวงกว้างที่สุด.

 เพื่อเพิ่มปฎิสัมพันธ์ทางออนไลน์ (Online Engagement) โดยการจุดประกายสร้างจุดชักชวนให้เกิดการพูดคุยกัน และการโต้ตอบกันทางออนไลน์ด้วยวิดีโอ. ให้คนดูได้ให้ความเห็น กดไลค์ หรือแชร์วิดีโอของคุณกับเพื่อนฝูงหรือกลุ่มสังคมของเขา. การโต้ตอบทางออนไลน์กับคนดูเป็นสิ่งที่มีค่ามาก นอกจากสิ่งนี้จะบอกคุณว่าคอนเทนต์ประเภทไหนที่กลุ่มคนดูของคุณชอบ มันยังช่วยเพิ่มการเข้าถึง (Reach) คนดูใหม่ๆ โดยส่งผลให้คุณเพิ่มยอดขายได้ในท้ายที่สุด. วิดีโอประเภทนี้ส่วนมากจะเล่นกับอารมณ์คนดูและทำให้คนดูเกิดความรู้สึกต่อวิดีโอ.

เพื่อสอน หรือให้ความรู้กับคนดู - วิดีโอเป็นสื่อกลางที่ดีมากในการให้ความรู้ผู้คน. การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และให้คำตอบของปัญหาบางอย่างของคนดูได้ เป็นวิธีที่ดีในการสร้างความเชื่อใจ และการแสดงความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพในสิ่งนั้นให้กับคนดูของคุณ. สิ่งนี้จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นเจ้าของเนื้อหา (Authority) ให้กับแบรนด์ของคุณ. ตัวอย่างที่ดีของวิดีโอประเภทนี้คงจะเป็นวิดีโอแนะนำการใช้งานและการนำไปใช้ของผลิตภัณฑ์ของคุณ.

เพื่อสร้างผู้มุ่งหวัง (Lead) – เป้าหมายหลักๆตรงนี้ก็คือ เพิ่ม traffic ไปยังเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น, ให้คนดูกด subscribe ที่ช่องของคุณหรืออีเมลจดหมายข่าวสาร, หรือให้คนดูของคุณติดต่อเข้ามา. ประเภทของวิดีโอที่สร้างผู้มุ่งหวังได้ดีก็จะเป็น การถ่ายทอดสด (Live) หรือทำซีรี่ส์วิดีโอหลายๆตอน, หรือวิดีโอที่ให้คำแนะนำและแรงบันดาลใจกับคนดู

 

หลังจากที่เราได้ให้คุณเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของวิดีโอที่ควรมีไปแล้ว เรามาทำความรู้จักประเภทหรือสไตล์ของวิดีโอที่เข้ากันได้และทำให้บรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายเหล่านี้ของคุณได้ดีกัน

1.วิดีโอองค์กร / วิดีโอวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Video)  สร้าง Brand Awareness และสร้าง Lead ได้ดีมาก

วิดีโอองกรณ์เป็นประเภทของวิดีโอที่ดีในการแนะนำคนดูของคุณให้รู้จักกับบริษัทของคุณแบบตรงๆไม่อ้อมค้อม และสร้างสรรค์มากๆ. โดยคุณสามารถบอกรายละเอียดว่าแบรนด์ของคุณคือไร, ทำอะไร, เริ่มต้นอย่างไร, และอธิบาย value และ mission ของแบรนด์คุณ. หรือคุณสามารถแนะนำให้คนดูรู้จักกับเพื่อนร่วมทีมของคุณ โดยอธิบายว่างานของพวกเขาเป็นอย่างไร และเขามีชุดความคิดอย่างไรในการทำงาน. วิดีโอประเภทนี้ช่วยทำให้คนดูของคุณเข้าใจและเห็นภาพแบรนด์ของคุณมากขึ้น และทำให้คนดูของคุณแยกคุณออกจากคู่แข่งของคุณได้ ทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วยังทำให้ให้เกิดความภักดีในแบรนด์ของคุณ (Brand Loyalty)

ชมตัวอย่างวิดีโอองค์กรจัดทำโดยเรา - วิดีโอองค์กร Monroe Consulting Group.

 

2.วิดีโอจัดอันดับ – สร้าง Brand Awareness ได้ดี

หรือที่เราคุ้นเคยและเห็นกันอยู่บ่อยครั้งก็คือวิดีโอประเภท “5 อันดับ หรือ 10 อันดับที่สุดของ_____”. ส่วนมากจะเป็นวิดีโอสั้นๆ กระชับได้ใจความ และให้ความบันเทิงในการรับชม ซึ่งคอนเทนต์ประเภทนี้พาคนดูของคุณผ่านรายชื่ออันดับที่คุณเตรียมมาไว้แล้ว ซึ่งมีประโยชน์ต่อคนดูและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณทำ. วิดีโอประเภทนี้จะมียอดคลิกเข้าชมที่สูงมาก เนื่องจากมีหัวเรื่องหรือชื่อวิดีโอที่สดุดตา แต่ยอดคลิกเหล่านี้จะต้องแลกมากับการค้นคว้าข้อมูลที่ดีพอ. แม้ว่าวิดีโอประเภทนี้จะถูกมองว่าเป็นคอนเทนต์ที่ทำง่าย แต่หากข้อมูลเนื้อหาของคุณไม่ดีพอ หรือไม่มีประโยชน์ต่อคนดู วิดีโอของคุณก็จะถูกมองว่าเป็น clickbait และทำให้พวกเขาเสียเวลาเปล่า. วิดีโอจัดอันดับที่ดีต้องมีความยาวไม่เกิน 4 นาที หรือน้อยกว่าเพื่อดึงดูดความสนใจคนดูให้มากที่สุด. โดยจะต้องมีการนำเสนอภาพที่น่าสนใจด้วย เพราะคุณไม่สามารถดึงคนดูให้อยู่ในคลิปได้แม้แต่นาทีเดียวเพียงแค่การนำเสนอภาพคุณยืนพูดกับกล้องเพียงอย่างเดียว พยายามใส่ภาพหรือคลิปวิดีโอที่น่าสนใจประกอบการพูดของคุณไปด้วย นี่จะทำให้วิดีโอของคุณน่าสนใจขึ้นอย่างมาก

ชมตัวอย่างวิดีโอจัดอันดับ จาก Travelocity.

 

3.วิดีโอสัมภาษณ์  สร้าง Brand Awareness, Online Engagement, ให้ความรู้แก่คนดู และสร้าง Lead ได้ดีอย่างมาก

วิดีโอสัมภาษณ์ คือคอนเทนต์สัมภาษณ์บุคคลหนึ่งถึงสองคนขึ้นไป. วิดีโอประเภทนี้ใช้ในการบอกกล่าวคุณค่าหรือแง่มุมของแบรนด์คุณโดยผนวกเข้ากับเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจหรือความน่าสนใจจากผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้ง influencer นักเขียน นักพูด spokesperson ของธุรกิจคุณ หรือแม้แต่คนที่คนดูของคุณไม่น่าจะรู้จักแต่เขามีเรื่องราวที่น่าสนใจที่สามารถบอกเล่าให้กับพวกเขาได้. วิดีโอสัมภาษณ์สามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยเราจะหยิบยกตัวอย่างมาให้ 3 แบบ

  • สัมภาษณ์รูปแบบ Talking Head ตามชื่อก็คือนำเสนอเฉพาะผู้ให้สัมภาษณ์เพียงหนึ่งคนอยู่ในวิดีโอ ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานและสากลที่สุดของวิดีโอประเภทนี้. โดยจับภาพไปที่ผู้ให้สัมภาษณ์เพียงคนเดียว ถ่ายแค่ช่วงบนของลำตัวขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้คนดูสนใจไปที่สิ่งที่เขาจะพูด

  • สัมภาษณ์รูปแบบวงสนทนา หรือ Conversational จะเป็นการสัมภาษณ์แบบในสถานที่รูปแบบของรายการทอร์คโชว์ โดยจะมีผู้สัมภาษณ์หรือผู้ดำเนินรายการ (Host) อยู่ในวิดีโอพร้อมกับผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย โดยวิดีโอจะจับภาพการสนทนาไปมาของทั้งสองบุคคล ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นกันเองและดูไม่เป็นทางการเกินไป

  • สัมภาษณ์รูปแบบประชุมสาย โดยการอัดวิดีโอจากการประชุมสายผ่านซอฟต์แวร์โดยผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ดีเดียวกัน. หลังจากการระบาดของโควิด-19 เราจะเห็นวิดีโอคอนเทนต์สัมภาษณ์รูปแบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ. โดยรูปแบบนี้อาจจะไม่ได้ดูดีที่สุด แต่ด้วยเนื้อหาและบทสนทนาที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเปิดความอิสระในการสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ต่างที่ หรือต่างประเทศ ทำให้รูปแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก

 

4.วิดีโอเบื้องหลัง (Behind-the-scene)  สร้าง Brand Awareness ได้ดีมาก

วิดีโอเบื้องหลังทำให้คนดูของคุณได้เห็นเบื้องหลังที่ใครไม่เคยได้เห็นมาก่อน กับขั้นตอนหรือการทำงานขององค์กรคุณ ยกตัวอย่างเช่นเบื้องหลังการถ่ายทำวิดีโอของคุณ. วิดีโอประเภทนี้บอกเล่าเรื่องราวหลังม่านขององค์กรคุณ หยาดเหงื่อและแรงกายที่ทุ่มเทให้กับโปรเจ็กต์ บอกเล่าเรื่องราวทีมงานของคุณ การถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้เป็นการทำให้คนดูของคุณรู้สึกเข้าถึงและสร้างความเข้าใจในสิ่งที่คุณทำในองค์กร. โดยวิดีโอสามารถเป็นการสัมภาษณ์บุคคลหลักที่ทำงานเป็นเบื้องหลัง โดยอธิบายขั้นตอนและงานที่พวกเขาทำ พร้อมกับนำเสนอคลิปวิดีโอเบื้องหลังโปรเจ็กต์ที่ไม่มีใครเคยได้เห็นมาก่อน ซึ่งทำให้วิดีโอประเภทนี้เพิ่มการรับรู้ต่อแบรนด์ได้ดีมาก เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์กับคนดูผ่านเรื่องราวเหล่านี้. นอกจากนี้ยังช่วยให้คนดูรู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่พวกเขาได้จ่ายให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ

ชมตัวอย่างวิดีโอเบื้องหลังของ Amazon.

 

5.วิดีโอตลกขบขัน – สร้าง Online Engagement และ Brand Awareness ได้ดีอย่างมาก

การทำวิดีโอคอนเทนต์ที่ตลกไม่ได้แค่ทำให้คนดูของคุณรู้สึกดีเพียงอย่างเดียว แต่มันยังทำให้แบรนด์ของคุณดูเข้าถึงได้และน่าเชื่อถืออีกด้วย. พยายามทำวิดีโอให้สนุก สั้น และได้ใจความพร้อมกับสอดแทรกข้อความที่คุณต้องการจะสื่อออกไปในเวลาเดียวกัน. วิดีโอประเภทนี้ส่วนมากมาในรูปแบบของโฆษณา และมีโอกาสสูงมากที่จะแพร่กระจาย (go viral) หากวิดีโอของคุณถูกวางแผนมาเป็นอย่างดี โดยต้องอาศัยกระบวนการคิดที่รอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องตลกของคนหนึ่งคนอาจจะไม่ตลกกับอีกคน. พยายามใช้การเล่าเรื่องเข้าช่วยและปิดท้ายด้วยมุกตลก

ชทตัวอย่างโฆษณาถั่วอบสนุกๆ โดย Cinesite.

 

6.Vlog  สร้าง Online Engagement ได้ดี

Vlog หรือ Video blog เป็นวิดีโอคอนเทนต์บอกเล่าเรื่องราวในรูปแบบไดอารี่ส่วนตัวของบุคคล โดยการถ่ายวิดีโอบุคคลพูดคุยกับกล้องบอกเล่าสิ่งที่พบเจอ, ความคิดเห็น, หรือบอกเล่าเรื่องราวที่พบเจอ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือประสบการณ์ส่วนตัว. วิดีโอประเภทนี้สร้างความสัมพันธ์กับคนดูโดยตรงโดยทำให้คนดูรู้สึกเหมือนกับว่าพวกเขากำลังฟังคุณพูดอยู่แบบตัวต่อตัว ถึงแม้ว่า vlog จะเป็นที่นิยมมากกว่าในหมู่นักผลิตคอนเทนต์ หรือ Influencer, แบรนด์เองก็สามารถนำวิดีโอรูปแบบนี้ไปใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ใช้เพื่อแนะนำออฟฟิซทำงานที่ดูดีของคุณ หรือให้ลูกทีมของคุณทำ vlog ในทริปองค์กรของคุณเพื่อทำวิดีโอเบื้องหลังสนุกๆก็ได้เช่นกัน

 

7. วิดีโอสอนหรือแก้ปัญหา (How to) และ Explainer วิดีโอ  สร้าง Online Engagement, Brand Awareness, และให้ความรู้กับคนดูได้ดีเป็นอย่างมาก

วิดีโอประเภทนี้เป็นหนึ่งในวิดีโอคอนเทนต์ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดซึ่งก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะว่ามันช่วยตอบคำถามหรือแก้ปัญหาให้กับคนดูและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเจ้าของวิดีโอ. หากจะทำวิดีโอประเภทนี้ คุณต้องเตรียมลิสต์คำถามหรือปัญหาจำนวนหนึ่งที่คนดูหรือลูกค้าของคุณพบเจอและถ่ายวิดีโออธิบายการแก้ปัญหาเหล่านั้น. โดยสามารถทำได้โดยการถ่ายบุคคลพูดอธิบายแบบตรงไปตรงมา หรือจ้างใครสักคนเพื่อทำ explainer วิดีโอ

Explainer วิดีโอก็คือ how-to วิดีโอแต่ใช้แอนิเมชันหรือกราฟิกเคลื่อนไหว (Motion Graphic) แทนการใช้บุคคลอธิบาย. วิดีโอแอนิเมชันดึงดูดคนดูได้ดีมาก เนื่องจากมีภาพที่สะดุดตาและน่าสนใจ อีกทั้งยังอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายในเวลาสั้นๆ. คุณสามารถทำได้โดยจ้างนักทำแอนิเมชันมืออาชีพ หรือ นักออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว เพื่อสร้างแอนิเมชันที่ดูดี และจ้างนักพากษ์ (Voice Actor) เพื่อให้เสียงอธิบายพร้อมไปกับภาพ. วิดีโอประเภทนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการถ่ายทำวิดีโอทั่วไป เนื่องจากมีขั้นตอนการจัดทำที่ซับซ้อนกว่า และต้องมีการวางแผนที่มากกว่า.

ตัวอย่าง Explainer Video จากเรา – Tall Emu CRM.

ตัวอย่าง Explainer Video โดย Kasra Design – Mad Fliers.

 

8.วิดีโอรีวิวผลิตภัณฑ์ – ให้ความรู้กับผู้ชมได้ดีมาก และสร้าง Online engagement และ Brand Awareness ได้ดี

ทุกวันนี้ก่อนผู้ซื้อจะทำการตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้น มักจะถามความเห็นของเพื่อน คนรู้จัก หรือหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตก่อนเสมอ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมวิดีโอรีวิวผลิตภัณฑ์ถึงมีกระแสตอบรับที่ดีบนแพลตฟอร์มออนไลน์. วิดีโอประเภทนี้ให้ความเห็นต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการในมุมมองของบุคคลที่สาม โดยคำแนะนำของเราก็คือให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา. หากวิดีโอรีวิวผลิตภัณฑ์ถูดจัดทำในแบบวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ อะไรที่จริงก็ว่าไปตามจริง บอกข้อดีข้อด้อยตามความจริงจะทำให้คนดูมองคุณมีความน่าเชื่อถือและซื่อตรง ในขณะที่สปอนเซอร์ที่ส่งผลิตภัณฑ์มาให้คุณรีวิวก็จะได้ feedback ที่ดีจากคุณและผู้ชมของคุณนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่อไป. สำหรับแบรนด์เอง ไม่ควรจะทำวิดีโอรีวิวผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แต่คุณสามารถส่งผลิตภัณฑ์ของคุณหรือเป็นสปอนเซอร์ให้กับ influencer หรือผู้สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ และให้พวกเขาแชร์ความคิดเห็นจากการใช้ให้กับคนดู. นอกจากนี้สามารถทำวิดีโอในรูปแบบเน้นการโชว์วิธีการใช้งานและคุณสมบัติทางเทคนิคต่างๆของผลิตภัณฑ์ แทนการขายตรงๆ โดยสามรถใช้เป็นบุคคลากรในองค์กร หรือให้บุคลลที่สามลองใช้งานและถาม-ตอบ คำถามหลังจากนั้นก็เป็นไอเดียที่ไม่เลว.

ชมตัวอย่างวิดีโอสาธิตการใช้งานผลิตภัณฑ์โดยเรา – TRIMOS.

ชมตัวอย่างวิดีโอรีวิวผลิตภัณฑ์โดย ยูทูปเบอร์ Marques Brownlee – iPhone SE (2020) review. 

 

9.วิดีโอ Case Study และวิดีโอคำรับรองจากลูกค้า (Testimonial)  ให้ความรู้กับผู้ชม และสร้าง Brand Awareness ได้ดีมาก

วิดีโอประเภทนี้ช่วยเพิ่มอัตราการแปลงเป็นยอดขายได้อย่างมาก. มันเป็นวิดีโอประเภทที่เป็นหลักฐานและคำชี้แจงต่อสังคมที่ทำให้คนดูอยากได้สิ่งๆหนึ่งหลังจากที่เห็นคนอื่นๆใช้สิ่งนั้น. วิธีที่ดีในการทำวิดีโอประเภทนี้คือค้นหาลูกค้าคนที่ได้รับผลลัพธ์ที่ดีจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ และมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่สมควรบอกต่อ ซึ่งนั่นจะทำให้คนดูสามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงประสบการณ์ของคนเหล่านั้นได้

ชมตัวอย่างวิดีโอ case study จัดทำโดยเรา – Colliers

 

10.วิดีโอโต๊ะข่าวองค์กร หรือ วิดีโอข่าวสาร – สำหรับพนักงานภายในองค์กร และสร้าง Brand Awareness ให้กับคนดูได้ดี

องค์กรมากมายสร้างวารสารหรือนิตยสารทั้งในรูปแบบพริ้นท์และออนไลน์. ปัญหาที่ตามมาก็คือบุคลากรในองค์กรเหล่านั้นไม่มีเวลาที่จะอ่านสิ่งเหล่านั้นถึงแม้ว่าพวกเขาจะให้ความสนใจจริงๆก็ตาม. หลายๆองค์กรทุกวันนี้ได้ผลิตวิดีโอข่าวสารภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้บุคลากรและลูกค้าได้รับรู้ข่าวสารขององค์กรผ่านวิดีโอสั้นๆ โดยมีลิงก์อธิบายรายละเอียดแนบเอาไว้ด้วย. โดยข่าวสารสามารถเป็นได้ตั้งแต่การต้อนรับพนักงานใหม่, เปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่, หรือการประกาศขยายสาขาของแบรนด์. การจัดทำโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้สตูดิโอ โดยมีกรีนสกรีนและผู้นำเสนอข่าวหนึ่งคน หรือหลายคนในหลากหลายภาษา. โดยวิดีโอควรถูกปรับให้แสดงผลได้เข้ากับอุปกรณ์พกพาขององค์กรและโทรศัพท์มือถือ และมีคำบรรยายตามภาษาที่ใช้. ซึ่งทางองค์กรสามารถปล่อยวิดีโอข่าวสารนี้ทางโซเชียลมีเดีย หรือทางอีเมลพนักงานและลูกค้าของพวกเขาได้.

ชมตัวอย่างวิดีโอข่าวสารรายเดือนภายในองค์กร จาก Kent Indictus Chamber

 

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และให้แรงบันดาลใจในการวางแผนทำวิดีโอคอนเทนต์ของคุณได้. โดยสิ่งที่เราพูดถึงทั้งหมดในบทความนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวางแผนจัดทำวิดีโอเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณสามารถค้นหาจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการวางแผนทำวิดีโอคอนเทนต์ในขั้นตอนต่อๆไปได้อย่างดี

ที่ ClipCube Media เรามีโปรแกรมฝึกสอน การทำวิดีโอโปรดักชันแบบ Inhouse หรือทำเองภายในองค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยคอร์สการสอนการทำวิดีโอโปรดักชันด้วยตัวเองแบบครบวงจร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inhousevideotraining.asia

 

Category: